วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บริษัทแอปเปิล

บริษัทแอปเปิล  หรือในชื่อเดิม บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิลทู และแมคอินทอช ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูนส์


ประวัติ


จุดเริ่มต้นในปี 1976–2010


บริษัท Apple Computer Inc. ได้เกิดขึ้นจากการร่วมกันก่อตั้งของ สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียกทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ Apple II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด (อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทจะมุ่งเน้นการขายระบบปฏิบัติการมากกว่าที่จะขายผลิตภัณฑ์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Intel และ IBM ทำงานได้ดีกว่า)
ก่อตั้งเมื่อ 1 เมษายน 1976 ใน Cupertino, California, และมีผู้ร่วมถือหุ้นในวันที่ 3 มกราคม 1977 บริษัท ฯ ได้ตั้งชื่อไว้ก่อนหน้านี้ Apple Computer, Inc. และมีการใช้ชื่อนี้มากว่า 30 ปี แต่ภายหลังได้ตัดคำว่า"Computer"ออกเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2007 เพื่อสะท้อนให้เห็น การขยายตัวต่อเนื่องของบริษัท ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่สำหรับผู้บริโภคนอกเหนือจากการมุ่งเน้นดั้งเดิมบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2010 แอปเปิ้ลมีจำนวนพนักงานเต็มเวลา 46,600 คน และ 2,800 คนแบบชั่วคราวมียอดขายทั่วโลกประจำปีของ $ 65,230,000,000 เพื่อความเป็นต่างๆเป็นปรัชญาของการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อความสวยงามที่โดดเด่นของแคมเปญการโฆษณา, แอปเปิ้ลได้มีชื่อเสียงโดดเด่นในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงฐานลูกค้าที่อุทิศให้กับบริษัท และตราสินค้าของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
นิตยสารฟอร์จูนมอบตำแหน่งแอปเปิ้ลชื่นชมมากที่สุดของ บริษัททั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2008 และในโลกในปี 2008, 2009, และ 2010 บริษัท ฯ ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งสำหรับผู้ใช้แรงงานผู้รับเหมา, สิ่งแวดล้อมและแนวทางการดำเนินธุรกิจ
Apple ถูกก่อตั้ง โดย Steve Jobs, Steve Wozniak และ Ronald Wayne, พวกเขาได้ขาย Apple I ชุดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นเครื่องแรก ที่สร้างขึ้นโดย Wozniak และแสดงครั้งแรกต่อประชาชนที่ Homebrew Computer Club โดยถูกขายเป็นเมนบอร์ด (มี CPU, RAM, และชิปแสดง - ข้อความขั้นพื้นฐาน) - ซึ่งถือว่าน้อยกว่าความเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สมบูรณ์ในวันนี้ สิ่งที่ Apple ขายในเดือนกรกฎาคม 1976 และเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราค $ 666.66 ($ 2,572 ในปี 2010 ดอลลาร์เมื่อปรับอัตราเงินเฟ้อ.)
Apple ได้จดทะเบียน 3 มกราคม 1977 โดย Wayne นั้นไม่ร่วมบริษัทอีกต่อไป, โดยหุ้นของ บริษัท นั้นกลับไปหา Jobs และ Wozniak เป็นจำนวน $ 800 เศรษฐีคนสำคัญที่มีชื่อว่า Mike Markkula ให้ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจที่สำคัญและเงินทุนของ $ 250,000 ในระหว่างการรวมตัวกันของแอปเปิ้ล
Apple II ได้รับการแนะนำในวันที่ 16 เมษายน 1977 ที่แรกที่ West Coast Computer Fair มันแตกต่างจากคู่แข่งรายใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นคือ TRS - 80 และ Commodore PET เพราะมาพร้อมกับกราฟิกสีและสถาปัตยกรรมระบบปฏิบัติการแบบเปิด ในขณะที่รุ่นแรกที่ใช้เทปคาสเซ็ทธรรมดาเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพวกเขาถูกแทนที่โดยการแนะนำของ 5 1 / 4 นิ้วฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์และอินเตอร์เฟซ, Disk II]Apple II ได้รับเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มเดสก์ทอปแบบแรกในโลก "app ตัวเด็ด" ของธุรกิจคอมพิวเตอร์โลก - ด้วยโปรแกรม VisiCalc ที่ใช้ทำใบปลิวและเอกสารแบบง่ายๆ โดย VisiCalc สร้างตลาดธุรกิจสำหรับ Apple II และให้ผู้ใช้ที่บ้านด้วยเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อซื้อความเข้ากันได้ของ Apple II กับสำนักงาน ตาม Brian Bagnall ในตอนแรก Apple สร้างตัวเลขยอดขายที่พูดเกินจริงและมียอดขายเป็นอันดับ 3 รองจาก Commodore และ Tandy จน VisiCalc ได้เปิดตัวและมาพร้อมกับ Apple II ยอดขายจึงสูงขึ้น
ณ สิ้นปี 1980 แอปเปิ้ลมีทีมงานของนักออกแบบคอมพิวเตอร์และสายการผลิตของตนเอง ในช่วงเดียวกันบริษัทได้เปิดตัว Apple III ในเดือนพฤษภาคม 1980 ด้วยความพยายามที่จะแข่งขันกับไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ในตลาดคอมพิวเตอร์ธุรกิจและองค์กร แต่กลับประสบความล้มเหลว
ต่อมา Jobs และพนักงานแอปเปิ้ลหลายคน รวมทั้ง Jef Raskin เยี่ยมชมบริษัท Xerox PARC ในธันวาคม 1979 เพื่อดู Xerox Alto ซีร็อกซ์ได้รับวิศวกรของแอปเปิ้ลสามวันของการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก PARC ตอบแทนสำหรับตัวเลือกในการซื้อ 100,000 หุ้นของแอปเปิ้ลที่ราคา IPO ก่อน $ 10 หุ้น งานเชื่อมั่นทันทีว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอนาคตจะใช้อินเตอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) และการพัฒนาของ GUI เริ่มสำหรับแอปเปิ้ลลิซ่า
เมื่อแอปเปิ้ลเข้าสู่ตลาดหุ้นจะสามารถสร้างทุนมากกว่า IPO ใด ๆ ตั้งแต่ฟอร์ดมอเตอร์ บริษัท ในปี 1956 และทันทีที่สร้างเศรษฐีมากขึ้น (ประมาณ 300) กว่า บริษัท ใด ๆ ในประวัติศาสตร์

1981–1985: Lisa และ แมคอินทอช

ต่อมาเมื่อเข้ายุค 80s Steve Jobs ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์อีกรุ่นในชื่อ Apple Lisa ในปี 1978 แต่แล้วในปี 1982 เขาได้ถูกขับออกจากทีมพัฒนานี้ด้วยเหตุทะเลาะวิวาทภายในทีม ทำให้ Steve ต้องไปทำโปรเจกต์คอมพิวเตอร์ที่ตั้งใจให้มีราคาย่อมเยาอย่าง Macintosh ที่ Jef Raskin ได้เริ่มทำเอาไว้ สงครามในบริษัทที่ต้องงัดข้อกันระหว่าง Jobs และมนุษย์ออฟฟิศเริ่มปะทุขึ้นเรื่อยๆ ถกเถียงกันว่าผลิตภัณฑ์ไหนควรจะได้รับการเปิดตัวก่อนกัน โดยกลายเป็นว่า Lisa ได้รับการเลือกให้เปิดตัวออกมาก่อนในปี 1983 โดย Lisa ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่มาพร้อมกับ GUI แต่กลับล้มเหลวอย่างมาก ด้วยราคาขายปลีกที่สูงเกินไป จนลูกค้าซื้อไม่ได้
ดังนั้นในปีต่อมา 1984 ก็เป็นคิวของการเปิดตัว Macintosh ที่คราวนี้ขอเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ด้วยโฆษณาทีวีทุนสร้างสูงมหาศาลเป็นประวัติการณ์ด้วยเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในโฆษณาชื่อ ‘1984’ ซึ่งได้รับการกำกับโดย Ridley Scott มากำกับหนังโฆษณาให้ ด้วยออกฉายในช่วงพักโฆษณาในงาน Super BOWL X V III ในวันที่ 22 มกราคม 1984
โดยถือว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นงานชิ้นโบว์แดงของแอปเปิ้ลที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม สร้างประกฎการณ์และภาพจำให้กับคนดูโทรทัศน์ในช่วงนั้นกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ล ที่เหมือนจะมากอบกู้ผู้บริโภคจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบเดิมๆในยุคนั้น ซึ่ง IBM กำลังครองตลาดอยู่
ในช่วงแรกนั้น Macintosh ขายได้ดีมาก สามารถสร้างเม็ดเงินให้บริษัทเป็นจำนวนสูง แต่ต่อมายอดขายกลับตกลงมาเรื่อยๆ สอดคล้องกับความนิยมในตัวเครื่อง เนื่องด้วยราคานั้นสูงเกินไป อีกทั้งซอฟต์แวร์ที่จะมารองรับกลับมีอย่างจำกัด แต่สถานการณ์กลับดีขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการเปิดตัว LaserWriter อันเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่เปิดตัวด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และ PageMaker ที่เป็นซอฟต์แวร์เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์เป็นซอฟต์แวร์แรกๆ หลังจากนี้ Macintosh กลายเป็นพระเอกในท้องตลาดเลยทีเดียว เนื่องด้วยความสามารถด้านกราฟิกที่สูงกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการนำเอา Macintosh GUI ที่โดดเด่นที่สุดในตลาดมาใช้ ดังนั้นการที่จับเอาผลิตภัณฑ์ทั้งสามแบบข้างต้นนี้มารวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถทำให้ Macintosh ตีตลาดผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาทำสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นอย่างดี
ต่อมาในปี 1985 สถานการณ์ในบริษัทกลับตึงเครียดมากขึ้น เมื่อความผิดใจแบบลึกๆระหว่าง Jobs และ John Sculley ผู้ที่เป็น CEO ของ Apple ในขณะนั้น กลับชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่บอร์ดผู้บริหารของ Apple พยายามจะจำกัดสิทธิ์เสียงของ Jobs ในบริษัท อีกทั้งยังมอบหมายงานใหญ่ๆให้ Sculley เป็นคนตัดสินแทน ทำให้ Jobs รู้สึกอึดอัดมาก หลายครั้งที่เขาพยายามนัดประชุมบอร์ดผู้บริหารโดยที่ไม่มี Sculley ทำให้สุดท้ายแล้ว Jobs ถูกไล่ออกจากบริษัทที่เขาเป็นคนสร้างมันขึ้นมากับมือ ทำให้เขาต้องออกไปเปิดบริษัท NeXT Inc. ในปีเดียวกัน

1986–1993 ช่วงรุ่งโรจน์และโรยรา


ปี 1991 หลังจากการลาออกของ Jobs ก็ถือเป็นอีกช่วงที่สำคัญของ Apple ด้วยความที่ Apple ได้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดของ Macintosh Portable ที่เปิดตัวในปี 1989 ด้วยความที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไป รวมไปถึงสมรรถนะตัวเครื่องที่ต่ำกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง ทำให้ยอดขายตกต่ำ ไม่เดินเลย ดังนั้นในปี 1991 Apple จึงได้เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาสมัยใหม่เครื่องแรกของโลกในชื่อ PowerBook ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลของคอมพิวเตอร์แล็ปทอปในปัจจุบัน
ส่วนตัว Macintosh Portable ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Macintosh แต่กลับมีน้ำหนักที่สูงจนเกินไป และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ 12 ชม. ในปีเดียวกัน Apple เปิดตัว System 7 ซึ่งเป็นการอัพเกรดระบบปฏิบัติการของ Apple ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเพิ่มอินเตอร์เฟซแบบสี และเปิดตัวคุณสมบัติการเชื่อมต่อแบบใหม่ล่าสุดในยุคนั้น โดย System 7 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งฐานรากของ Mac OS X อันโด่งดังในปัจจุบันเลยทีเดียว
การเปิดตัว PowerBook นั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จและสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าบริษัทได้อย่างมาก เรียกได้ว่าช่วงปี 1990-1991 นั้นเป็นช่วงขาขึ้นของบริษัทเลยก็ว่าได้ โดยหนังสือนิตยสาร MacAddict นั้นขนานนามช่วงนี้ว่าเป็น The Golden Age ของ Apple เลยทีเดียว
โดยนอกจาก PowerBook แล้ว ยังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน คือ Macintosh LC ที่ Apple ก็ไม่รอช้า ส่ง Centris ผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งชนิดออกมาสานต่อความสำเร็จทันที นอกจากนี้ยังมี Quadra อันเป็นคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยา เบาๆ สำหรับผู้ใช้งบน้อย และ Performa ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา กลายเป็น ความงงงวยของผู้บริโภค ที่แยกผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไม่ออกว่าตำแหน่งทางการตลาดของแต่ละตัวนั้นอยู่ที่ตรงไหน[15] ด้วยความที่ความสามารถของแต่ละตัว และราคา กลับไม่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แทนที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยสร้างฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ทำให้เกิดความสับสน และความไม่เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะผลิตขึ้นมาทำไม
ในช่วงเวลานี้เองที่ Apple ได้ลองผิดลองถูกกับผลิตภัณฑ์หลายๆชนิด ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูปดิจิตอล, เครื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่น CD หรือ ลำโพง, เครื่องเล่นวิดีโอเกม, หรือ TV Set Top Box ซึ่งล้วนแต่ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง และเป็นเพียงการนำเอาสินค้ายี่ห้ออื่นมาเปลี่ยนตราเป็น Apple
นอกจากสินค้าอื่นๆข้างต้นแล้ว Apple ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของโลกในชื่อ Newton ที่เป็นต้นแบบของ PDA หรือ Personal Digital Assistance ในเวลาต่อมา แต่นั่นก็ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรให้กับบริษัทเลย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ราคาหุ้นและส่วนแบ่งตลาดของ Apple ถดถอยลงไปทุกที
การที่ Apple จะพยายามพลิกสถานการณ์อันย่ำแย่นั้น ดูเหมือนจะทำได้ยากเหลือเกิน การที่ Apple II นั้นมีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้บริโภค Apple จึงจัดการเปิดตัว Macintosh LC อันเป็นอีกโมเดลหนึ่งของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาย่อมเยา โดยมีคุณสมบัติช่องขยายเดียวสำหรับ Apple IIe Card โดยเป็นการที่ถือได้ว่า พยายามนำเอาประสิทธิภาพที่สูงกว่าของ Apple II มาให้กับผู้ใช้ Macintosh แต่อย่างไรก็ตาม Apple เลิกผลิตและจำหน่าย Apple IIe ในปี 1993
สถานการณ์ในช่วงนี้ กลับกลายเป็นย่ำแย่อย่างที่ไม่มีใครเคยคาดคิด ด้วย Windows ที่กำลังแซงหน้า Apple แบบทิ้งห่าง เพราะชูจุดเด่นเรื่องราคาที่ถูกกว่า Apple อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ Apple เอง พยายามจะสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมและประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่กลายเป็นว่า ราคาขายปลีกนั้นสูงเกินไปที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเข้าถึง นอกจากสถานการณ์การเงินของบริษัทจะเข้าขั้นตกต่ำแล้ว Apple ยังได้ไปฟ้องร้อง Microsoft ในกรณีที่ลอกเลียนกราฟิกอินเตอร์เฟซใน Windows โดยการฟ้องร้องนี้ดำเนินไปอย่างยาวนานนับปี สุดท้ายแล้ว Apple ก็ประสบความล้มเหลวในทุกๆด้าน จน Sculley ต้องลาออกไป แล้วมอบหมายให้ Michael Spindler มารับหน้าที่ในตำแหน่ง CEO แทนเขาเอง

1994–1997 พยายามที่จะลองผิดลองถูก


ในช่วงต่อไปนี้ อันเป็นปี 1994-1997 Apple ได้พัฒนาแพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการอื่นๆที่ต่อยอดมาจาก Macintosh เช่น A/UX นอกจากนี้ยังได้ทดลองเปิดตัวโลกออนไลน์สำหรับ Macintosh โดยเฉพาะในชื่อ eWorld ซึ่งได้พัฒนาร่วมกับ America Online และถูกออกแบบมาให้เป็นมิตรกับเครื่อง Macintosh ทุกเครื่อง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้ Macintosh ที่ไม่ต้องการใช้ CompuServe ในการออนไลน์และท่องเว็บไซต์
แต่อย่างไรก็ตาม กลายเป็นว่า Macintosh นั้นล้าสมัยในช่วงเวลานั้นไปเสียแล้ว เนื่องจากไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหลายๆโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน หรือ Multitasking และซอฟต์แวร์สำคัญๆบางซอฟต์แวร์ยังถูกกรอบบังคับให้ใช้ได้เฉพาะบางรุ่นอีกต่างหาก ทำให้นั่นเป็นข้อบังคับจนเกินไป แน่นอนว่า Apple ต้องการแพลทฟอร์มใหม่สำหรับ Macintosh แล้ว เพื่อที่จะได้แข่งกับ Sun Microsystems และผู้ผลิต/พัฒนา OS/2 และ UNIX อื่นๆได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเสียที
ในปี 1994 Apple ร่วมกับ IBM และ Motorola ในการพัฒนาแพลทฟอร์มคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ ที่จะเป็นการผนวกกันระหว่าง hardware ของ IBM และ Motorola กับ software จาก Apple โดยหวังว่าการรวมตัวกันพัฒนาครั้งนี้จะช่วยทำให้ Apple กลับไปนำหน้า Microsoft ได้อีกครั้ง ในปีนั้นเอง หลังจากการร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มล่าสุด Apple ก็พร้อมเปิดตัว Power Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกจาก Apple ที่ใช้ IBM PowerPC processor[16]
ในปี 1996 ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่ง CEO อีกครั้ง โดย Gil Amelio มาดำรงตำแหน่งนี้แทน Michael Spindler โดย Amelio ได้ทำการปลดพนักงานจำนวนมาก[17] อีกทั้งยังริเริ่มโครงการผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งมาสู่ความล้มเหลวทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Taligen, Copland และ Gershwin ดังนั้น Amelio จึงเลือกที่จะซื้อบริษัท NeXT และระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP เป็นของ Apple เพื่อจะนำตัว Steve Jobs กลับเข้ามาทำงานใน Apple อีกครั้งในตำแหน่งที่ปรึกษา[18] แต่ในปี 1997 Jobs กลับถูกเลือกให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง CEO แทน เพื่อเป็นการกอบกู้ บริษัทที่เขาเป็นคนสร้างมันขึ้นมา
ภารกิจแรกที่ Jobs ทำ เกิดขึ้นในปี 1997 ในงาน Macworld Expo โดยเขาได้ประกาศร่วมมือกับคู่อริอย่าง Microsoft เป็นครั้งแรก ด้วยการเอา Microsoft Office มาเปิดตัวบน Macintosh และให้ Microsoft ทำการซื้อหุ้นของ Apple เป็นจำนวน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงปลายปีนั้น Apple ได้เปิดตัว Apple Store เป็นครั้งแรก ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในด้าน build-to-order[19]
ในปีต่อมา Jobs ทำการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นใหม่อีกครั้ง ในชื่อ iMac ที่สร้างความโด่งดังไปทั่วโลก โดยมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับ Macintosh รุ่นแรกที่เขาเป็นคนพัฒนา ออกแบบโดยนักออกแบบผลิตภัณฑ์คนสำคัญของ Apple ผู้ที่ฝากผลงานการออกแบบไว้กับ iPod และ iPhone เช่นกัน นั่นก็คือ Jonathan Ive โดย iMac นั้นโดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และความสามารถ ส่งผลให้ยอดขายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยสถิติ 800,000 เครื่องในเวลาเพียง 5 เดือนหลังออกขาย
ช่วงนี้เอง ที่ Apple ได้ทำการซื้อหลายๆบริษัทให้เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Macromedia กับซอฟต์แวร์ Final Cut เพื่อนำมาทำเป็นซอฟต์แวร์สำหรับตัดต่อไฟล์งานวิดีโอ โดยในสองปีต่อมา Apple ได้เปิดตัว iMovie สำหรับผู้ใช้ทั่วไปได้ตัดต่อวิดีโอ กับ Final Cut Pro สำหรับมืออาชีพ นอกจากนี้ Apple ยังได้เข้าซื้อ Nothing Real ละ Emagic เพื่อนำมาพัฒนาให้เป็นโปรแกรม GarageBand อันเป็นซอฟต์แวร์สร้างเพลงแบบง่ายๆ ให้กับผู้บริโภคในเวลาต่อมา

ประวัติผู้ก่อตั้งบริษัท APPLE

สตีฟ จอบส์


Steve Jobs Headshot 2010-CROP.jpgสตีเวน พอล จอบส์ (อังกฤษSteven Paul Jobs) หรือ สตีฟ จอบส์, 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 - 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011) เป็นผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ และยังเคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ และเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ใน ค.ศ. 2006 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการพิกซาร์
เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก ใน ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหารใน ค.ศ. 1984  จอบส์ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิลใน ค.ศ. 1996 ทำให้จอบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 จอบส์ยังเป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไปใน ค.ศ. 2006 จอบส์เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์
หลังจาก สตีฟ จอบส์ ประกาศแก่พนักงานแอปเปิลว่าตรวจพบมะเร็งตับอ่อนตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2004 จอบส์ ก็มีปัญหาทางสุขภาพเรื่อยมา จนตัดสินใจลาออกจากการเป็นประธานกรรมการบริหารของแอปเปิล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และ เสียชีวิตในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011 หลังจากที่แอปเปิล ประกาศเปิดตัว ไอโฟน 4เอส ได้เพียงแค่วันเดียว

วัยเด็ก


หลังสงครามโลกครั้งที่ 2


พอล จ็อบส์ปลดประจำการจากเรือประจำกองกำลังรักษาชายฝั่งในซานฟรานซิสโก เขาพนันกับเพื่อนร่วมงานในเรือว่าจะหาสาวแต่งงานให้ได้ภายในสองอาทิตย์ พอลเป็นช่างยนต์ สูงหกฟุต ร่างกายล่ำสัน มีรอยสักดูคล้ายเจมส์ ดีน แต่ไม่ใช่เพราะรูปร่างที่ทำให้พอลได้ควง คลาร่า ฮาโกเปียน สาวน้อยอารมณ์ดี ลูกสาวของผู้อพยพชาวอาร์เมเนีย แต่เป็นเพราะกลุ่มเพื่อนที่คลาร่าตั้งใจจะไปเที่ยวด้วยในเย็นวันนี้ไม่มีรถ บังเอิญเขาและเพื่อนมีรถ แค่ 10 วันหลังจากนั้นพอล จ็อบส์และคลาร่า ฮาโกเปียนก็หมั้นหมายกันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1946 พอลชนะพนัน ทั้งสองแต่งงานและอยู่กินกัน มากว่า 40 ปีจนตายจากกันไป
พอล เรนโฮลด์ จ็อบส์ เติบโตในฟาร์มโคนมแห่งหนึ่งในเมืองเจอร์มันทาวน์รัฐวิสคอนซิน แม้ว่าพ่อจะติดเหล้าและมีอารมณ์รุนแรงในบางครั้ง แต่เขาก็เติบโตเป็นหนุ่มที่สุภาพ เยือกเย็น ภายใต้ร่างอันบึกบัน หลังออกจากโรงเรียนมัธยม เขาร่อนเร่หางานทำไปทั่วเขตมิดเวสต์ ได้งานเป็นช่างยนต์จนกระทั่งอายุ 19 ปีจึงมาทำงานกับกองกำลังรักษาชายฝั่ง แม้ตัวพอลจะว่ายน้ำไม่เป็นเลยก็ตาม เขาประจำการอยู่ใน เรือ USS General M.C. Meigs ใช้เวลาส่วนใหญ่กับภารกิจลำเลียงพลไปสมทบกับกองกำลังพลเอกแพ็ตตันในอิตาลี เขาเป็นช่างเครื่องและพนักงานดับเพลิงที่มีความสามารถ ได้รับคำชมอยู่เสมอ แต่มักจะมีเรื่องราวเล็กๆน้อยๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย จึงไม่ได้ก้าวหน้าในหน้าที่การงานไปถึงระดับพลทหารเสียที

ก่อตั้งแอปเปิล


ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1974 จอบส์ได้กลับมายังรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้เริ่มเข้าประชุมชมรม"เครื่องคอมพิวเตอร์ทำเองที่บ้าน" กับ สตีฟ วอซเนียกจากนั้นก็สมัครเข้าทำงานในตำแหน่งช่างเทคนิคที่ อาตาริ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมส์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ตลอดช่วงเวลานี้ มีการค้นพบว่านกหวีดของเล่นที่แถมมาในกล่องอาหารเช้าทำจากธัญพืชยี่ห้อแคปแอนด์ครันช์ ทุกกล่อง เมื่อนำมาดัดแปลงเล็กน้อยแล้วจะสามารถทำเกิดเสียงความถี่ 2,600เฮิร์ทซ์ ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทางไกลของเอทีแอนด์ทีได้ โดยไม่รอช้า ในปีค.ศ. 1974จอบส์กับวอซเนียกได้เริ่มธุรกิจผลิตกล่อง"บลูบ็อกซ์" จากแนวความคิดดังกล่าวอันทำเราสามารถโทรศัพท์ทางไกลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ในปีค.ศ. 1976 สตีฟ จอบส์ในวัย 21 ปี กับสตีฟ วอซเนียก วัย 26 ปี ได้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ขึ้น ในโรงรถที่บ้านของครอบครัวจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตาได้แก่เครื่องApple I มันถูกตั้งราคาไว้ที่ 666.66 ดอลลาร์สหรัฐ โดยนำตัวเลขมาจากหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องตอบโทรศัพท์เล่าเรื่องตลกขบขันของวอซเนียก ที่มีเบอร์โทรลงท้ายด้วย -6666
ในปีค.ศ. 1977 จอบส์กับวอซเนียก ได้นำเครื่องApple IIออกสู่ตลาด และประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดคอมพิวเตอร์ใช้งานในบ้าน และทำให้แอปเปิลกลายเป็นผู้ผลิตรายสำคัญในวงการอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1980 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้กลายมาเป็นบริษัทมหาชน และการเปิดขายหุ้นให้แก่สาธารณชนผู้สนใจร่วมลงทุน ทำให้สถานภาพส่วนตัวของจอบส์สูงส่งขึ้นเป็นอันมาก ในปีเดียวกันนี้เอง แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำเครื่องApple IIIออกวางตลาด แต่กลับประสบความสำเร็จน้อยกว่าเดิม
ในขณะที่ธุรกิจของแอปเปิลกำลังเติบโตต่อไป บริษัทได้เริ่มมองหาผู้มีความเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจเพื่อมาช่วยในการขยายกิจการ ในปีค.ศ. 1983จอบส์ได้ว่าจ้าง จอห์น สกัลลีย์ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเป็บซี่-โคล่า ให้มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของแอปเปิล โดยที่จอบส์ได้กล่าวท้าทายเขาว่า "คุณต้องการจะใช้ช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ไปกับการขายน้ำหวาน หรือว่าต้องการโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้กันแน่?" ในปีเดียวกัน แอปเปิลยังได้เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ลิซา ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าแต่กลับไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดแต่อย่างใด
ในปีค.ศ. 1984 เราได้เห็นการเปิดตัวเครื่องแมคอินทอช เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่มีส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์ที่ประสบความสำเร็จทางการค้า การพัฒนาเครื่องแมคริเริ่มขึ้นโดย เจฟ ราสคินและทีมงานที่ได้แรงบันดาลใจจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิจัยซีรอกซ์พาร์ก แต่ยังไม่มีการนำมาพัฒนาเพื่อการค้า ความสำเร็จของเครื่องแมคอินทอช ทำให้แอปเปิลเลิกพัฒนาเครื่องApple II เพื่อส่งเสริมสายการผลิตเครื่องรุ่นแมค ซึ่งยังคงยืนหยัดมากระทั่งทุกวันนี้

ออกจากแอปเปิล ก่อตั้งกิจการบริษัทเน็กซ์


ในขณะที่จอบส์ได้กลายเป็นนักบุญผู้มีบุคลิกโดดเด่นและมีส่วนผลักดันโครงการต่างๆของแอปเปิล เหล่านักวิจารณ์มักจะอ้างว่าเขาเป็นผู้จัดการที่มีบุคลิกแปลกประหลาดและโมโหร้าย ในปีค.ศ. 1985 ภายหลังจากประสบปัญหาขัดแย้งเรื่องอำนาจภายในบริษัท จอบส์ถูกคณะกรรมการบริหารของแอปเปิลถอดออกจากภารกิจต่างๆที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบ และได้ลาออกในที่สุด
หลังจากออกจากแอปเปิล จอบส์ได้ก่อตั้งบริษัทคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า เน็กซ์ (NeXT) เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลิซา เน็กซ์มีเทคโนโลยีล้ำยุค แต่มันไม่เคยเข้าสู่กระแสความนิยมหลักได้เนื่องจากราคาที่สูงลิ่ว สำหรับผู้ที่มีเงินพอจะซื้อหามาเป็นเจ้าของได้นั้น เทคโนโลยีของเน็กซ์ทำให้มีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมากเนื่องจากความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีของมัน หนึ่งในผลิตภัณฑ์นั้นได้แก่ระบบพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ จอบส์ได้ทำตลาดผลิตภัณฑ์ของเน็กซ์โดยเน้นไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษา เนื่องจากมันได้ผนวกเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในเชิงนวัตกรรม และทดลองค้นคว้ารวมอยู่ด้วย (เป็นต้นว่า เคอร์เนลมัค (Mach kernel) และแผงวงจรดีเอสพี)
เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเน็กซ์คิวบ์(NeXT Cube) ถือกำเนิดขึ้นจากแนวความคิดทางปรัชญาของจอบส์ในเรื่องของ "คอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคล" ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นก้าวสำคัญหลังจากมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเกิดขึ้น นั่นคือ หากคอมพิวเตอร์สามารถให้มนุษย์สื่อสารและประสานงานกันอย่างง่ายดายแล้ว มันจะสามารถแก้ปัญหามากมายที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเคยประสบมา จอบส์เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่เขาไม่ได้รวมเอาคุณลักษณะทางเครือข่ายเข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอชรุ่นดั้งเดิม (และเรียกมันว่า "สายรกที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับบริษัท") และเขาตั้งใจว่าจะไม่ทำพลาดเช่นนั้นอีก ในช่วงเวลาที่อีเมลสำหรับคนส่วนมากยังคงเป็นระบบตัวหนังสือล้วน จอบส์รักที่จะทำการแสดงการสาธิต "เน็กซ์เมล" ระบบอีเมลของบริษัทเน็กซ์เพื่อให้เห็นถึงปรัชญาของเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคล เน็กซ์เมลเป็นอีเมลระบบแรกๆที่สนับสนุนการมองเห็นกราฟิกส์และเสียงที่ฝังอยู่ในอีเมลได้จากทุกแห่ง และยังสามารถคลิกได้อีกด้วย
จอบส์บริหารงานที่บริษัทเน็กซ์โดยเล็งผลเลิศแม้ว่าจะใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไรก็ตาม สายตาที่สอดส่องการทำงานทุกกระเบียดนิ้วคู่นี้ได้เป็นตัวบ่อนทำลายแผนกฮาร์ดแวร์ของเน็กซ์ในที่สุด แต่ในทางกลับกัน มันยังเป็นการแสดงให้โลกได้รู้ว่าจอบส์สามารถออกแบบเครื่องแมคอินทอช ที่ดีกว่ารุ่นดั้งเดิมในแบบที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ กล่องเครื่อง เน็กซ์คิวบ์ที่ทำจากแมกนีเซียมตัดด้วยเลเซอร์ได้ชื่อว่าเป็นความสวยงามที่ไม่ว่าจะจ่ายเท่าไรก็จะต้องได้มา
เช่นเดียวกับที่จอบส์แข่งขันกับไอบีเอ็มในช่วงที่งานอยู่ที่แอปเปิล จอบส์ต่อสู้กับซัน ไมโครซิสเต็มส์ราวกับว่าซันเป็นจักรวรรดิปิศาจในช่วงเขาทำงานอยู่ที่เน็กซ์ ต่อมา หลังจากที่แผนกฮาร์ดแวร์ของเน็กซ์ถูกปลด จอบส์กับสก็อต แมคนีลลีแห่งซัน ไมโครซิสเต็มส์ได้เปิดตัว OPENSTEP ด้วยกัน
ในช่วงที่จอบส์ทำงานอยู่ที่เน็กซ์นั้นมักจะไม่มีผู้กล่าวถึงในตำราประวัติศาสตร์ แต่จอบส์ได้อุทิศประโยชน์ไว้ในเหตุการณ์สำคัญยิ่งสองเหตุการณ์ด้วยกัน
  1. กำเนิดเวิลด์ไวด์เว็บ ชื่อเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกกับ ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ได้พัฒนาระบบต้นแบบของเวิลด์ไวด์เว็บของสถาบันวิจัยเซิร์นในสถานีวิจัยย่อยของเซิร์นโดยใช้เครื่องเน็กซ์ จุดยืนของจอบส์ที่ว่าคนธรรมดาน่าจะสามารถเขียนแอปพลิเคชันใดๆที่ "จำเป็นยิ่งยวดต่อภารกิจ" ได้กลายเป็นหลักเบื้องต้นในการสร้าง Interface Builder อันเป็นโปรแกรมที่ทิม เบอร์เนอร์ส-ลีใช้เขียนโปรแกรมที่มีชื่อว่า "World-Wide Web 1.0"
  2. การกลับมาของแอปเปิล คอมพิวเตอร์: การที่แอปเปิลอิงกับซอฟต์แวร์ดั้งเดิม และการบริหารงานภายในที่ผิดพลาด ทำให้บริษัทเองเกือบจะล้มละลาย ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 จุดยืนของจอบส์ที่ยืนหยัดจะพัฒนาคอมพิวเตอร์จากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์อย่างต่อเนื่อง ได้ถูกมองว่าทะเยอทะยานเกินไปและเป็นแนวคิดที่ล้าหลังในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่ทางเลือกของจอบส์ได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบปฏิบัติการที่เสถียรและสามารถขยายตัวได้ แอปเปิลจะต้องการซอฟต์แวร์ตัวนี้ในเวลาต่อมาภายใต้การนำของจอบส์ และได้เรียนรู้ประสบการณ์ของการเกิดใหม่ เทคโนโลยีของเน็กซ์ยังได้ช่วยในการพัฒนาก้าวหน้าของเทคโนโลยีอื่นๆ เป็นต้นว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การแสดงผลโพสต์สคริปต์ และอุปกรณ์ออพติก-แม่เหล็ก

    กลับมาสู่แอปเปิล


    ในปีค.ศ. 1996 แอปเปิลได้ซื้อกิจการบริษัทเน็กซ์ คอมพิวเตอร์ด้วยราคา 402ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำจอบส์กลับมาสู่บริษัทที่เขาก่อตั้งเอาไว้ ในปีค.ศ. 1997เขาได้กลายเป็นผู้บริหารระดับสูง"ชั่วคราว"ของแอปเปิล หลังจากที่ผู้จัดการหลายคนเสียความเชื่อมั่นในตัว จิล อะเมลิโอ ผู้บริหารระดับสูงในขณะนั้นที่ถูกถอดออก ในช่วงที่กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำของแอปเปิล จอบส์เรียกชื่อตำแหน่งของเขาว่า "ไอซีอีโอ" (iCEO)
    ด้วยการซื้อกิจการของเน็กซ์ เทคโนโลยีหลายตัวของบริษัทได้แจ้งเกิดในผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Mac OS X ที่พัฒนามาจาก NeXTSTEP ภายใต้การนำของจอบส์ บริษัทสามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างมากด้วยการเปิดตัว ไอแมค (iMac) นับแต่นั้นเป็นต้นมา การออกแบบที่ดึงดูดใจ และยี่ห้อสินค้าที่มีพลังเป็นผลดีต่อแอปเปิลอย่างยิ่ง
    ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ บริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ได้ขยายกิจการไปหลายสาขา ด้วยการเปิดตัวไอพ็อด เครื่องเล่นดนตรีขนาดพกพา ไอทูนส์ ซอฟต์แวร์สำหรับดนตรีดิจิทัล รวมไปถึงร้านดนตรีไอทูนส์ แสดงให้เห็นว่าบริษัทต้องการยึดหัวหาดด้านอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ส่วนบุคคล และร้านขายดนตรีออนไลน์ ด้วยแรงผลักดันทางนวัตกรรม จอบส์มักจะเตือนพนักงานของเขาว่า "ศิลปินที่แท้จริงต้องส่งงาน" ซึ่งหมายความว่าการจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงเวลานั้น มีความสำคัญพอๆกับนวัตกรรมและการออกแบบที่โดนใจผู้ใช้
    จอบส์ทำงานที่บริษัทแอปเปิลเป็นเวลาหลายปีติดกันด้วยค่าจ้างรายปีเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ และนั่นทำให้เขาได้ถูกบันทึกไว้ในสถิติโลกกินเนสส์ว่า เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดในโลก ในการเป็นองค์นำปาฐกถาที่งานแมคเวิลด์เอกซ์โป (Macworld Expo) ในนครซานฟรานซิสโก บริษัทได้ตัดคำว่า "ชั่วคราว" ออกจากตำแหน่งของเขา แต่เงินค่าจ้างของเขาที่แอปเปิลก็ยังคงเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี แม้ว่าเขาจะได้รับของขวัญพิเศษจำนวนมากที่สร้างรายได้แก่เขาจากคณะกรรมการบริหารตามธรรมเนียม รวมถึงเครื่องบินเจ็ต Gulfstream V มูลค่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีค.ศ. 1999 และหุ้นมูลค่าเกือบๆ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นปุริมสิทธิ์ในปีค.ศ. 2000 - ค.ศ. 2002 ดังนั้น จอบส์จึงได้รับค่าตอบแทนอย่างงามสำหรับความพยายามของเขาที่แอปเปิล แม้จะได้ชื่อว่ามีค่าจ้างเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐก็ตาม
    จอบส์ได้รับทั้งคำชื่นชมและวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับทักษะด้านการขายและดึงดูดใจผู้บริโภคของเขา ซึ่งถูกแทนที่ด้วยคำว่า "พื้นที่ที่ความจริงถูกบิดเบือน" ซึ่งเห็นได้ชัดอย่างยิ่งระหว่างที่เขากล่าวปราศรัยในงานแมคเวิลด์เอกซ์โป เกราะกำบังด้วย "พื้นที่ที่ความจริงถูกบิดเบือน" เป็นคำเปรียบเปรย ที่ใช้กับแอปเปิลด้วยในช่วงที่ราคาสินค้าไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ในขณะที่เครื่อง G4 cube มีราคาแพงเกินไป บริษัทก็ยังตัดสินใจสวนกระแสความต้องการของตลาด ด้วยการกำจัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลอกแบบจากเครื่องแมคอินทอช การตัดสินใจของจอบส์ไม่ได้รับฉันทมติจากคนส่วนใหญ่ไปเสียทุกเรื่อง เป็นต้นว่า ความพยายามทางการตลาดของแอปเปิลในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่เป็นเลิศในแง่เทคนิค แต่กลับเป็นแนวคิดแปลกแยกในหมู่นักลงทุนที่เล่นหุ้นของบริษัท ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันไปซื้อหุ้นของไอบีเอ็ม ส่งผลให้ราคาหุ้นของแอปเปิลตกลงฮวบฮาบ ไมโครซอฟท์ก็ซ้ำเติมการเสียตำแหน่งผู้นำของแอปเปิลด้วยการพัฒนาส่วนประสานผู้ใช้แบบกราฟิกส์ของตัวเองขึ้นมา ใช้ชื่อว่า ไมโครซอฟท์วินโดวส์ ซึ่งก็บดบังความร้อนแรงของหุ้นแอปเปิลและครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในที่สุด

    ร่วมก่อตั้งพิกซาร์


    ในปีค.ศ. 1986 จอบส์ได้ร่วมกับเอ็ดวิน แคทมัลล์ก่อตั้งพิกซาร์ ซึ่งเป็นสตูดิโอสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ ตั้งอยู่ที่เมืองเอเมอรีวิลล์ รัฐแคลิฟอร์เนียบริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นจากแผนกคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของบริษัทลูคัสฟิล์มเดิม ซึ่งจอบส์ได้ซื้อกิจการต่อมาจากจอร์จ ลูคัส ผู้ก่อตั้ง ด้วยราคา 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหนึ่งในสามของราคาที่ตั้งไว้
    พิกซาร์ได้กลายเป็นบริษัทที่โด่งดังและประสบความสำเร็จในอีกหนึ่งทศวรรษให้หลัง ด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องยาวแหวกแนว เรื่อง"ทอย สตอรี่" และจากนั้นก็ได้ผลิตภาพยนตร์ที่ชนะรางวัลประกวดหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น "ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์" ในปีค.ศ. 1998 "ทอย สตอรี่ 2" ในปีค.ศ. 1999 "มอนสเตอร์ส อิงค์ บริษัทรับจ้างหลอน(ไม่)จำกัด" ในปีค.ศ. 2001 "นีโม่...ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต" ในปีค.ศ. 2003 และ "รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก" ในปีค.ศ. 2004 ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องล่าสุดของพิกซาร์คือเรื่อง "Cars2" มีกำหนดออกฉายในต้นเดือนกันยายน ปีค.ศ. 2011
    นีโม่...ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต และ รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก ต่างได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม
    เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2006 บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ได้เข้าซื้อกิจการของพิกซาร์ด้วยวิธีแลกหุ้น การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้มีมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน

    ชีวิตส่วนตัว


    จอบส์เข้าพิธีสมรสกับลอเรนซ์ พาวเวลล์ เมื่อวัน18 มีนาคม ค.ศ. 1991 และมีบุตรด้วยกันสามคน จอบส์ยังมีลูกสาวหนึ่งคน ชื่อลิซา จอบส์ ที่เกิดจากสตรีผู้หนึ่งซึ่งเขาไม่ได้แต่งงานด้วย
    มีอยู่ช่วงหนึ่งที่จอบส์ได้คบหาดูใจอยู่กับโจอาน แบเอซ ผู้ซึ่งถูกเจฟฟรีย์ ยัง ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของจอบส์ "iCon Steve Jobs" กล่าวถึงว่า จอบส์รู้สึกติดตรึงใจสนใจหล่อน เนื่องจากโจอาน แบเอซเคยเกี่ยวพันกับ บอบ ดีแลน นักดนตรีขวัญใจของเขา และยังเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมฮิปปี้ (Beat Generation) เจฟฟรีย์ ยัง บอกเป็นนัยๆว่า บิล แอตคินสัน เคยได้ยินจอบส์พูด (แล้วเอาไปพูดต่อ) ว่าเขาคงจะแต่งงานกับแบเอซไปแล้ว หากเขาไม่มีความคิดว่าหล่อนซึ่งขณะนั้นมีอายุ 41 ปี มากเกินไปที่จะมีบุตร
    จอบส์เป็นมังสวิรัติที่ยังรับประทานปลา (ไม่ใช่มังสวิรัติ หรือ มังสวิรัติเคร่งครัด ตามที่มีมักจะอ้างกัน) — แม้ว่าเขาจะไม่กินเนื้อสัตว์ มีรายงานว่าเขากินปลาในบางครั้ง
    เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 จอบส์ได้เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกมะเร็งออกจากตับอ่อน เขาเป็นโรคมะเร็งในตับอ่อนซึ่งในแบบที่พบได้น้อยมาก ที่เรียกว่า "เนื้องอกในเซลล์ที่ผลิตอินซูลินอันส่งผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย " (islet cell neuroendocrine tumor) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่ไม่ต้องการเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัดแต่อย่างใด ระหว่างที่เขาป่วย ทิม คุก ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานขายและปฏิบัติการทั่วโลกของแอปเปิล เป็นผู้บริหารงานแทน
    ในปีค.ศ. 2005 สตีฟ จอบส์ได้สั่งห้ามมิให้จำหน่ายหนังสือทุกเล่มที่มาจากสำนักพิมพ์วิลลีย์ในร้านหนังสือขายปลีกของแอปเปิล เพื่อตอบโต้ที่สำนักพิมพ์นี้ได้ตีพิมพ์ชีวประวัติฉบับที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเขา ที่มีชื่อว่า "iCon Steve Jobs: The Greatest Second Act in the History of Business" เขียนโดยเจฟฟรีย์ ยัง และ วิลเลียม แอล. ไซมอน หลายคนเชื่อว่าการสั่งห้ามหนังสือดังกล่าวมาจากชื่อที่มีนัยยะในแง่ลบ มากกว่าจะมาจากเนื้อหาซึ่งออกจะกล่าวถึงในแง่บวกเสียมากกว่า

    การเสียชีวิต


    ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011 หลังจากที่แอปเปิล ประกาศเปิดตัว ไอโฟน 4เอส ได้เพียงแค่วันเดียว แอปเปิลคอมพิวเตอร์ประกาศว่า สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตอย่างสงบแล้วจากโรคมะเร็งตับอ่อนรุมเร้ามาตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2004 ด้วยวัยเพียง 56 ปี โดยในว้นที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2011 แอปเปิลได้จัดงานรำลึกถึงสตีฟ จอบส์ขึ้นมา โดยมีทิม คุก ถึงชีวิตของจอบส์ในแง่ต่างๆ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จที่ผ่านๆ มาของจอบส์ ณ Apple Campus เมืองคูเปอร์ทิโน รัฐแคลิฟอร์เนีย
    ความหลักแหลม กระตือรือร้น และพลังงานของสตีฟ เป็นที่มาของนวัตกรรมนับไม่ถ้วน ซึ่งเพิ่มคุณค่าและพัฒนาชีวิตของพวกเราให้ดีขึ้น โลกดีขึ้นอย่างสุดประมาณเพราะสตีฟ[13]
    — คณะกรรมการบริหารของแอปเปิลระบุในแถลงการณ์
    แอปเปิลได้สูญเสียอัจฉริยบุคคลผู้มีวิสัยทัศน์และมีความคิดสร้างสรรค์ โลกสูญเสียบุคคลอันน่าทึ่ง ผู้ที่มีโอกาสได้รู้จักและร่วมงานกับสตีฟก็สูญเสียเพื่อนผู้เป็นที่รักและผู้นำที่สร้างแรงบรรดาลใจ สตีฟคงเหลือไว้ซึ่งบริษัทที่มีเขาเพียงผู้เดียวที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จิตวิญญาณของเขาจะยังคงเป็นรากฐานของแอปเปิลตลอดไป [14]
    — ข้อความไว้อาลัยบนหน้าเว็บของแอปเปิล ประเทศไทย